สถานีรถไฟ วังกรด

สถานีรถไฟวังกรด
ตลอดระยะเวลา 114 ปีที่ผ่านมา การรถไฟแห่งประเทศไทยได้พัฒนากิจการเดินรถอย่างต่อเนื่อง มีการก่อสร้างทางรถไฟรวมความยาวทั้งสิ้น 4,034 กิโลเมตร สถานีรถไฟจำนวน 442 สถานี กระจายตัวอยู่ทุกภูมิภาคของประเทศ อาคารสถานีรถไฟแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการทางด้านรูปแบบ วัสดุ วิธีการก่อสร้างที่มีความหลากหลายและมีลักษณะเฉพาะตัว ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของอาคารสถานีรถไฟเริ่มต้นขึ้นพร้อมกับการก่อสร้างทางรถไฟ และการพัฒนากิจการการรถไฟแห่งประเทศไทยตลอดระยะเวลาร้อยกว่าปีที่ผ่านมา เมื่อพุทธศักราช 2473 อาคารสถานีรถไฟที่ถูกสร้างขึ้นนั้นมีทั้งอาคารที่สร้างด้วยไม้และอาคารก่ออิฐฉาบปูน โดยขนาดของอาคารมีความแตกต่างกันตามลําดับความสำคัญและประโยชน์ใช้สอย รูปแบบทางสถาปัตยกรรมมีลักษณะแบบ ผสมผสานรูปแบบจากยุโรปเนื่องจากผู้ออกแบบเป็นชาวต่างประเทศ เช่น นาย มาริโอ ตามานโย กับนายอัลลิบาลเล ริกาซซิสถาปนิกชาวอิตาลีและนายเอิร์นสท์ อาลท ์ มานน์ หนึ่งในวิศวกรชาวเยอรมันผู้ขุดอุโมงค์ขุนตาน เป็นต้น อาคารสถานีรถไฟที่มีความสำคัญมากได้รับการออกแบบให้มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมเฉพาะตัว อาคารสถานีรถไฟที่มีความสำคัญรองลงมาจะเป็นอาคารสถานีรถไฟไม้ แบบมาตรฐานชั้นเดียวขนาดใหญ่ กลาง และเล็กตามลําดับ ผังพื้นของอาคารสถานีรถไฟไม้แบบมาตรฐานชั้นเดียวขนาดเล็กเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนานไปกับชาน ชาลาและทางรถไฟ ประกอบด้วยที่พักผู้โดยสาร ห้องขายตั๋ว และห้องทำงานนายสถานี การพัฒนาเส้นทางรถไฟทําให้ชุมชนบริเวณใกล้ๆ กับสถานีรถไฟเกิดการพัฒนากลายเป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าของชุมชน กระตุ้นให้ผลผลิตทางเศรษฐกิจขยายตัวทั้งชนิดและปริมาณ มีการก่อสร้างบ้านพักอาศัย เรือนแถว ไม้ตึกแถว และตลาดขึ้นในพื้นที่ เช่น สถานีรถไฟวังกรดที่ก่อให้เกิดตลาดชุมชนย่านเก่าวังกรดเป็นต้น ซึ่งอาคารสถานีรถไฟวังกรดมีคุณค่าทางสถาปัตยกรรม ศิลปกรรมและประวัติศาสตร์ ที่ผ่านเหตุการณ์ต่างๆ ในอดีตมาอย่างมากมาย และเป็นสถาปัตยกรรมที่เล่าเรื่องราวของชาวชุมชนย่านเก่าวังกรดตำบลบ้านบุ่งได้อย่างมีคุณค่าจึงมีความสำคัญในฐานะเป็นมรดกของชุมชนและของชาติและควรมีการรักษาให้อยู่ในสภาพดีต่อไป

สถานีรถไฟวังกรด เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ชุมชนมีความเจริญทางเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้น เพราะเป็นพื้นที่ที่เข้าถึงได้ง่ายกว่าตัวเมือง ซึ่งในสมัยนั้นยังไม่มีการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำไปยังตัวเมือง ทำให้ย่านวังกรดกลายเป็นเมืองท่าระหว่างการค้าทางน้ำและทางบก ด้วยเหตุนี้จึงมีผู้เล็งเห็นโอกาสของการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ และริเริ่มสนับสนุนให้คนในชุมชนสร้างตลาดขึ้นโดย “หลวงประเทืองคดี” คหบดีในชุมชนที่มีอาชีพรับราชการอัยการ ทำให้เกิดการก่อตั้งเป็นตลาดวังกรดขึ้นมาประมาณปีพ.ศ. 2488 เพื่อเป็นชุมชนค้าขายอย่างจริงจัง

สถานีรถไฟวังกรด สร้างขึ้นพร้อมกับการสร้างทางรถไฟสายปากน้ำโพ-พิษณุโลกเดิมเรียกชื่อว่า “สถานีรถไฟวังกลม” ตามชื่อของชุมชนในสมัยนั้น แต่เนื่องจากชื่อไปซ้ำซ้อนกับสถานีรถไฟอีกแห่งหนึ่งทางภาคอีสาน จึงเปลี่ยนชื่อมาเป็น สถานีรถไฟวังกรด ชื่อชุมชนจึงเปลี่ยนมาเป็น “ชุมชนวังกรด” จวบจนปัจจุบัน

สถานีรถไฟวังกรด การพัฒนาเส้นทางรถไฟของทางราชการทําให้ชุมชนบริเวณใกล้ๆ กับสถานีรถไฟเกิดการพัฒนา กลายเป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าของชุมชน กระตุ้นให้ผลผลิตทางเศรษฐกิจขยายตัวทั้งชนิดและปริมาณ มีการก่อสร้างบ้านพักอาศัย เรือนแถวไม้และตลาดขึ้นในพื้นที่ เช่น สถานีรถไฟวังกรดที่ก่อให้เกิดตลาดชุมชนย่านเก่าวังกรดเป็นต้น 

อาคารสถานีรถไฟวังกรมีคุณค่าทางสถาปัตยกรรม ศิลปกรรมและประวัติศาสตร์ ที่ผ่านเหตุการณ์ต่างๆ ในอดีตมาอย่างมากมาย

สถานีรถไฟวังกรด สถาปัตยกรรมที่เล่าเรื่องราวของชาวชุมชนย่านเก่าวังกรดตำบลบ้านบุ่งได้อย่างมีคุณค่า  

สถานีรถไฟวังกรด มีความสำคัญในฐานะเป็นมรดกของชุมชนและของชาติและจึงควรมีการรักษาให้อยู่ในสภาพดีต่อไป

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้